วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

ขนมไทยประเภทนึ่ง





ขนมชั้นสีรุ้ง ก็หมายถึงการได้เลื่อนชั้น เลื่อนยศฐาบรรดาศักดิ์ให้สูงส่งยิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งในอดีตจะนิยมเป็นสีขาวจากกะทิ และสีเขียวจากใบเตย จึงได้ประยุกต์ให้เข้ากับยุกสมัยจึงได้คิดทำเป็นขนมชั้น สายรุ้งเพื่อความแปลกใหม่และเป็นที่สนใจ

ส่วนผสม
หัวกะทิ 4 ถ้วย
น้ำตาลทราย 3 ถ้วย
น้ำลอยดอกมะลิ 1 ถ้วย
แป้งถั่วเขียว 2 ช้อนโต๊ะ
แป้งท้าวยายม่อม 1 ถ้วย
แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนโต๊ะ
แป้งมัน 2 ถ้วย
ใบเตย 10 ใบ คั้นน้ำข้น ๆ

วิธีทำ
1. เชื่อมน้ำเชื่อมโดยใช้น้ำ 1 ถ้วย น้ำตาลทราย 3 ถ้วย
2. ผสมแป้งทั้ง 4 ชนิด เข้าด้วยกัน แล้วนวดกับกะทิ โดยค่อย ๆ ใส่กะทิทีละน้อย ๆ นวดนาน ๆ จนกะทิหมด แล้วใส่น้ำเชื่อมคนให้เข้ากัน พอให้แป้งติดหลังมือนิดหน่อย
3. กรองแป้งทั้งหมด แล้วแบ่งแป้งเป็นสีตามต้องการ
4. นำถ้วยแก้วไปนึ่งแล้วทาน้ำมันให้ทั่ว ใส่แป้งสีประมาณ 1/4 ถ้วย แล้วนึ่งให้สุกประมาณ 5 นาที แล้วใส่แป้งชั้นต่อไป แล้วนึ่งอีกประมาณ 5 นาที ทำไปจนครบสีสีทีต้องการ เมื่อสุกยกลงทิ้งให้เย็น




ขนมพะพายเป็นขนมนิยมใช้ในพิธีแต่งงาน เพราะเชื่อกันว่าแป้งข้าวเหนียวที่ใช้หุ้มไส้หมายถึงความเหนียวแน่นมั่นคง ส่วนความหวานของไส้คือความรักอันแสนหวาน ที่จะเกิดกับคู่แต่งงาน ขนมพะพายเป็นขนมไทยที่หาทานได้ยากในปัจจุบัน คงเป็นการดีหากจะนำกลับมาให้ได้รู้จักกันอีกครั้ง

ส่วนผสม
แป้งข้าวเหนียว 1 ถ้วย
น้ำคั้นใบเตย
ถั่วเขียวเลาะเปลือก 1 ถ้วย
กะทิ 1/2 ถ้วย
น้ำตาลทราย 1 1/2 ถ้วย
เกลือนิดหน่อย กะทิ 1/2 ถ้วย
แป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. เริ่มจากต้มถั่วให้สุก แล้วกวนกับกะทิและน้ำตาลจนถั่วมีลักษณะแห้ง พักไว้ แล้วปั้นเป็นก้อนกลมๆ
2. ผสมแป้งกับน้ำคั้นใบเตย โดยค่อยๆใส่น้ำทีละนิด จนแป้งรวมตัวกันดี แต่ไม่แฉะ นวดจนกระทั่งแป้งเนียนนุ่ม
3. หยิบแป้งมาปั้นเป็นก้อนกลมซักประมาณ 1 นิ้ว แล้วแผ่แป้งออก นำใส้ถั่วที่กวนไว้ ใส่ตรงกลาง หุ้มใส้ให้มิดแล้วคลึงให้กลม
4. ต้มน้ำให้เดือด ใส่แป้งที่ทำไว้ลงนึ่ง
5. ต้มกะทิใส่เกลือนิดหน่อย ต้มพอแตกมันแล็กน้อย ชิมดู รสหวานตามชอบ ใส่แป้งลงในกะทิ ก่อนเสิร์ฟราดหน้าขนมด้วยกะทิเล็กน้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น